(๑๘๗๕ ถ. คอนเนคติคัท ตะวันตกเฉียงเหนือ ห้องชุด ๓๐๐ วอชิงตัน ดีซี ๒๐๐๐๙-๕๗๒๘ ๑๐ ฉบับ ๒๔ ดอลล่าร์)

เหตุผล ๑๐ ประการ ทำไมเราจึงควรรับประทานดั่งผู้รับประทานมังสวิรัติ

บทความ: บอนนี่ ริบมัน(ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ)

หลักฐานมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อยู่ว่า อาหารที่ดีต่อสุขภาพมากที่สุดนั้น เต็มไปด้วยอาหารประเภทพืช (ผัก ผลไม้ และถั่ว) และด้อยอาหารประเภทสัตว์ (เนื้อวัว ปลา เนื้อเป็ด เนื้อไก่ และผลิตภัณฑ์จากนม) โดยเฉพาะอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง

คุณวอลเตอร์ วิลเล็ท หัวหน้าฝ่ายโภชนาการประจำโรงเรียนฮาวาร์ด แห่งสุขภาพชุมชน กล่าวว่า "อาหารที่เต็มไปด้วยผักผลไม้ จะมีผลช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคสำคัญ ๆ และลดอัตราการเสี่ยงตาย"

สำหรับคนหลายคน คำว่าผู้รับประทานอาหารมังสวิรัตินั้น ฟังดูหนักเอาการ ปกติ เป็นที่เข้าใจกันว่า มันหมายถึงผู้ที่จะไม่รับประทานเนื้อวัว เนื้อปลา หรือเนื้อเป็ด ไก่ ด้วยเหตุผลทางจริยธรรม ทางศาสนาหรือเพื่อสุขภาพ แล้วยังมีผู้ที่เรียกกันว่าวีเกิ้น นั้น เป็นผู้ที่หลีกเลี่ยงการรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมและไข่เพิ่มเติมไปด้วย แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กลับสนใจมากกว่าคือว่า ผู้คนรับประทานอาหารประเภทเนื้อมากเท่าไร ไม่ใช่ว่า รับประทานอาหารประเภทเนื้อหรือเปล่า และผลการสำรวจจำนวนมาก ชี้นำมาสู่ผลสรุปอันเดียวกันคือ คนเราควรรับประทานอาหารประเภทสัตว์น้อยลง และรับประทานอาหารประเภทพืชมากขึ้น โดยเฉพาะผักและผลไม้ ทำไมหรือ? ในที่นี้มีเหตุผลอยู่ ๑๐ ประการ บางประการก็เกี่ยวข้องกับสุขภาพ บ้างก็ไม่

1. มะเร็ง

คุณทิม บายเยอร์ ศาสตราจารย์แห่งการแพทย์แบบป้องกันมิให้โรคเกิดขึ้น ประจำมหาวิทยาลัยแห่งศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพโคโลราโดที่เดนเวอร์ กล่าวว่า "สายทางวิทยาศาสตร์แนะนำอย่างแรงกล้าว่า ผักผลไม้เป็นสิ่งที่ป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งทางเดินอาหารและมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ทั้งหลาย" นั่นนับรวมมะเร็งในปอด ลำไส้ใหญ่ กระเพาะ ปาก กล่องเสียง หลอดอาหาร กระเพาะปัสสาวะ เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า สารไลโคพีน ซึ่งเป็นสารประเภทธาตุหัวผักกาดแดงเหลืองในมะเขือเทศและซ๊อสมะเขือเทศ อาจสามารถป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้

วิธีที่ผักผลไม้ลดการเกิดโรคมะเร็งได้นั้น ยังไม่ชัดเจน อาจเป็นเพราะสารทางพฤกษศาสตร์เคมีที่อยู่ในผักผลไม้ก็ได้ เช่น ประเภทธาตุหัวผักกาดแดงเหลือง วิตามินซีและวิตามินอี ซิลีเนี่ยม อินโดล ฟลาโวนอยด์ส กรดหินปูน และไลโมนีน

นอกจากนั้น ยังมีหลักฐานอยู่ว่า ธัญพืชที่มีปริมาณเส้นใยสูง เช่น รำข้าวสาลี สามารถลดการเกิดมะเร็งได้ คุณเดวิด เจนคิ่นส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเส้นใยประจำมหาวิทยาลัยโตรอนโต กล่าวว่า "เส้นใยมีผลดี สามารถป้องกันมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้" และพาสต้า ข้าว และธัญพืชอื่น ๆ สามารถทดแทนอาหารประเภทเนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อแดงได้ ซึ่งเป็นเนื้อที่อาจเพิ่มการเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งบางประเภท

คุณเอดเวิร์ด กิโยวานนุชชี่ แห่งโรงเรียนการแพทย์ฮาวาร์ด กล่าวว่า "ผู้ที่รับประทานเนื้อแดงเป็นอาหารหลักสัปดาห์ละ ๕ ครั้งหรือมากกว่านั้น จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมากกว่าผู้รับประทานเนื้อแดงน้อยกว่าเดือนละครั้งถึง ๔ เท่า" ในการศึกษาผู้มีอาชีพด้านสุขภาพเพศชาย ๕๐,๐๐๐ คน ยังพบด้วยว่า ผู้รับประทานเนื้อแดงเป็นจำนวนมาก ๆ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าเป็น ๒ เท่าด้วย"

นั่นเป็นเพียงการศึกษาหนึ่ง ๆ เท่านั้น ลองหันมาดูการศึกษาอื่น ๆ คุณลอว์เรนซ์ คูชิ ประจำมหาวิทยาลัยแห่งมินเนโซต้า กล่าวว่า มีหลักฐานยืนยันค่อนข้างสม่ำเสมอว่า เนื้อแดงมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น ในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และน่าจะมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย
แม้แต่เนื้อแดงไม่ติดไขมัน ก็ดูจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย คุณวิลเล็ทคาดว่า "อาจเป็นเพราะวัตถุที่ทำให้เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นเวลาหุงต้มเนื้อ หรือเป็นเพราะปริมาณธาตุเหล็กที่สูง หรืออะไรอย่างอื่นในเนื้อ"


2.โรคหัวใจ

อาหารที่มีพืชเป็นหลัก โดยมีผักผลไม้มาก ๆ สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ ในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคหัวใจได้เน้นให้ลดการรับประทานไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลลง แต่พืชอาจคุ้มกันหัวใจได้ด้วยวิธีอื่น ตัวอย่างจำนวนหนึ่งได้แก่

* เส้นใยแบบสลายตัวได้: คุณเจนกิ้นสกล่าวว่า เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เราควรรับประทานถั่ว ถั่วลันเตา ข้าวโอ๊ต และข้าวบาร์เล่ย์มากขึ้น เพราะเส้นใยที่สลายตัวได้ที่ "เหนียว" ของมัน ดูจะลดโคเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้

* กรดใบ:. คุณวิลเล็ทกล่าวว่า "หลักฐานว่า กรดใบลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้นั้น ค่อนข้างชัดเจน" กรดใบ ซึ่งเป็นวิตามินบีประเภทหนึ่ง จะลดระดับเลือดของกรดแอมิโนที่เป็นอันตราย ที่เรียกกันว่ากรดแอมโมเนียอันเดียวกันในกระเพาะปัสสาวะลง เขายังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "และผักผลไม้เป็นแหล่งหลักของกรดใบ"
* สารหยุดยั้งการทำให้เป็นออกไซด์: มีหลักฐานยืนยันหนาแน่นขึ้นเรื่อย ๆ ว่า โคเรสเตอรอลแบบแอลดีแอล ("แบบที่ไม่ดี") จะทำลายเส้นเลือดแดง เฉพาะเมื่อมันถูกทำให้เป็นออกไซด์ (ไปรวมตัวกับออกซิเจน) นั่นคือเหตุ ที่นักวิจัยเชื่อว่า สารหยุดยั้งการทำให้เป็นออกไซด์ ดังเช่น วิตามินอี อาจคุ้มกันหัวใจได้ และสารไซโตเคมีคอลจำนวนมากในผักผลไม้นั้น เป็นสารหยุดยั้งการทำให้เป็นออกไซด์

* การเบียดสารอิ่มตัวออกไป: หากเรารับประทานอาหารประเภทพืชเป็นจำนวนมาก ๆ ก็จะมีเนื้อที่ให้ไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ มาอุดตันเส้นเลือดแดงได้น้อยลงนั่นเอง


3. การเป็นลม

คุณวิลเล็ท กล่าวว่า "มีหลักฐานอยู่เป็นจำนวนมาก ที่แสดงว่า ผัก ผลไม้ มีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงต่อการเป็นลม" เป็นต้นว่า ในการติดตามศึกษาชายวัยกลางคน ๘๓๒ คนมาเป็นเวลา ๒๐ ปี ความเสี่ยงที่จะเป็นลม จะลดลง ๒๒% ต่อทุก ๆ การรับประทานผักผลไม้ ๓ มื้อ/วัน เช่นเดิม ไม่มีใครทราบว่า ผลเช่นนี้เป็นเพราะโปแตสเซี่ยม แมกนีเซี่ยม เส้นใย หรือส่วนประกอบอื่นในผัก ผลไม้ ที่ป้องกันไม่ให้เส้นเลือดแดงในสมองอุดตัน


4. โรคลำไส้อักเสบและอาการท้องผูก

ธัญพืชที่มีเส้นใยมาก โดยเฉพาะรำข้าวสาลี ช่วยป้องกันการท้องผูกได้ นี่ไม่ใช่เรื่องไร้สาระสำหรับประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา ที่เสียค่าใช้จ่ายเป็นล้าน ๆ /ปีสำหรับยาถ่าย

โรคลำไส้อักเสบก็เกิดขึ้นทั่วไปเช่นกัน คนอายุมากกว่า ๕๐ ปี ประมาณ ๓๐-๔๐% จะเป็นโรคนี้ ทั้งนี้ ส่วนใหญ่แล้ว จะไม่แสดงอาการ คนอื่น ๆ จะมีอาการเลือดออก ท้องผูก ท้องเสีย มีแก็สมาก ปวด หรือมีอาการลำไส้อักเสบ (ซึ่งจะเกิดขึ้น เมื่อถุงเล็ก ๆ ที่อยู่ตามผนังลำไส้ใหญ่ มีการอักเสบ)

คุณวิลเล็ทกล่าวว่า "ตามที่เราศึกษามานั้น จะเห็นได้ชัดว่า เส้นใยจากรำและจากผักผลไม้ ป้องกันโรคได้" กลุ่มผู้ชายที่รับประทานเส้นใยน้อยที่สุด (๑๓ กรัมหรือน้อยกว่านั้น/วัน) มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคลำไส้อักเสบเกือบมากกว่ากลุ่มผู้ชายที่รับประทานเส้นใยมากที่สุด (อย่างน้อย ๓๒ กรัม/วัน) เป็น ๒ เท่า


5. โรคอื่น ๆ

 

อาหารที่มีพืชเป็นจำนวนมากอาจคุ้มกันโรคอื่น ๆ ได้อีก ดังเช่น

* การเสื่อมของแม็กคิวล่า: มีสารแคโรตีนอย ที่เรียกกันว่า ลูเทอีน ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะพบในผักใบเขียว สามารถช่วยป้องกันการเสื่อมของเยื่อชั้นในสุดของลูกตา ซึ่งทำให้คนชราตาบอดได้ คุณโยฮันนา เซ็ดด้อน.แห่งโรงเรียนการแพทย์ฮาวาร์ด กล่าวว่า "จากการศึกษาของเรานั้น คนที่รับประทานผักโขมหรือผักประเภทคลอราร์ด สัปดาห์ละ ๒-๓ ครั้ง เสี่ยงต่อการเสื่อมของแม็คคิวล่าเพียงครึ่งเดียว ของผู้ที่รับประทานผักเหล่านี้น้อยกว่าเดือนละครั้ง"

* อาการผิดปกติของท่อเส้นประสาท:.อาหารเสริมประเภทกรดใบ สามารถลดการเสี่ยงต่อการผิดปกติแต่แรกเกิดของสไปน่า บีฟีด้า และท่อเส้นประสาทอื่น ๆ ได้ กรดใบที่ได้จากอาหาร (ส่วนใหญ่แล้ว เป็นผักผลไม้) ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงได้

* โรคเบาหวาน: คุณวิลเล็ทกล่าวว่า "เราพบว่า ผู้ที่รับประทานธัญพืชในลักษณะที่เต็มเมล็ด จะเลี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานน้อยกว่า

 

6. อาหารที่ปลอดภัยกว่า

 

โรคที่ร้ายแรงที่สุดถึงกับตายได้ ซึ่งเกิดมาจากอาหาร จะเข้าสู่ร่างกายโดยอาหารที่เป็นสัตว์ คุณเดวิด.สเวิร์ดโลว์ ประจำศูนย์ควบคุมโรคที่แอตแลนต้า กล่าวว่า "เนื้อบดเป็นแหล่งที่มีความน่าจะเป็นที่สูงที่สุดของอี. โคไล ๐๑๕๗: เอช๗ เนื้อเป็ดไก่จะมีซาโมเนลล่า และแคมไพโลแบคเตอร์ ส่วนการรับประทานหอยดิบ เคยก่อให้เกิดการอับเสบของไวบริโอ วัลนิฟิคัส"

ไม่ว่าอาหารดิบใดก็ตาม รวมถึงผักผลไม้ ก็อาจมีแบททีเรียที่เป็นอันตรายได้ คุณสเวิดโลว์ กล่าวว่า "ตัวอย่างเช่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการแพร่กระจายของแซลโมเนลล่า โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับแคนตาลูบ มะเขือเทศ และยอดแอลแฟลฟะสีม่วง" แต่เนื้อ อาหารทะเล และเนื้อเป็ด เนื้อไก่ เป็นต้นเหตุที่มีความน่าจะเป็นสูงที่สุด ในการเกิดโรคจากอาหาร

 

7.สภาพแวดล้อม

 

ุณเจนกิ้นส กล่าวว่า "อุปนิสัยในการรับประทานอาหารของเรา มีผลอย่างยิ่งยวดต่อดวงดาวเรา" คุณอลัน เดิร์นนิ่ง ประธานสำนักงานดูแลสภาพแวดล้อมฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือแห่งซี๊แอ๊ตเทิ่ล อธิบายว่า " การรับประทานเนื้อสัตว์ จะไม่มีผลต่อสภาพแวดล้อม เฉพาะถ้ากระทำในระดับที่น้อยกว่านี้มาก"

คุณเดิร์นนิ่งกล่าวว่า "การผลิตเนื้อแบบสมัยใหม่นี้นั้น ต้องใช้ธัญพืช น้ำ พลังงาน และบริเวณทุ่งหญ้าในปริมาณมาก และบ่อยครั้งก็ใช้อย่างไม่ถูกไม่ควร" เขายกตัวอย่างดังนี้

* ภาวะน้ำเสีย: อุจจาระและของเสียจากทุ่งเลี้ยงสัตว์ โรงงานไก่ และสถานที่เลี้ยงสัตว์แบบอื่น ๆ ทำให้แหล่งน้ำสกปรกและเสียได้

* สภาวะอากาศเสีย: มีเธน ซึ่งเป็นก๊าซที่มีผลต่อการเกิดภาวะอากาศร้อนรอบโลกจำนวน ๓๐ ล้านตัน มาจากอุจจาระในบ่อหรือกองของเสีย

* การเสื่อมของดิน: ธัญพืชเกือบ ๔๐% ของโลก และมากกว่า ๗๐% ของสหรัฐอเมริกา ถูกนำไปใช้เลี้ยงวัว ในการผลิตเนื้อต่าง ๆ เป็ด ไก่ ไข่ และนมทุก ๆ ปอนด์ ทุ่งตามฟาร์มจะต้องสูญเสียดินชั้นบนประมาณ ๕ ปอนด์

* การสิ้นเปลืองน้ำ:
มีการประมาณว่า ครึ่งหนึ่งของธัญพืชและฟางที่ใช้เลี้ยงวัวนั้น ถูกปลูกอยู่บนที่ดินที่มีการใช้ระบบส่งน้ำ การผลิตเนื้อวัว ๑ ปอนด์นั้น ใช้น้ำประมาณ ๓๙๐ แกลลอน

* การใช้พลังงาน: การผลิตและขนส่งปศุสัตว์ จะใช้พลังมากกว่าการผลิตและขนส่งพืชเกือบ ๑๐ เท่า

* การกินหญ้ามากเกินไป: ประมาณ ๑๐% ของแดนตะวันตกอันแห้งแล้ง ถูกทำให้กลายเป็นทะเลทรายไปเพราะการเลี้ยงปศุสัตว์ ที่ดินเหล่านั้นมิอาจเอามาทำอะไรอื่นได้มากแล้ว คุณเดิร์นนิ่งยืนยันว่า "นั่นคือเหตุ ที่ข้อโต้แย้งของผมไม่ใช่คือให้รับประทานมังสวิรัติ แต่คือให้ลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ลง"

 

8. ค่าใช้จ่าย

 

น่นอน เราอาจเสียเงิน ๗.๙๙ ปอนด์ไปซื้อสลัดผักแบบพิเศษหรืออาหารจานพิเศษอื่น ๆ ได้ แต่นับแต่พวกแตงลงมาจนถึงมันเทศ พืชส่วนใหญ่แล้ว จะมีราคาถูกมาก และราคาที่ถูก จะเห็นได้ชัด เมื่อไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ในรายการอาหารร้านอาหารจีน อินเดีย และร้านอื่น ๆ ส่วนมาก อาหารมังสวิรัติจะราคาถูกกว่าพวกเนื้อ อาหารทะเล และเนื้อเป็ดไก่

 

9.ความเป็นอยู่ของสัตว์

 

ันเป็นอะไรที่คิดแล้ว ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ แต่ก่อนจะฆ่ามัน สัตว์ที่เรารับประทาน จะถูกเลี้ยงดูและถูกขนส่งในสภาพอันไร้ความเมตตา

 

10. รสชาต

สาเหตุหมายเลข ๑ ในการรับประทานมังสวิรัติคือ เพราะมันอร่อย ผัก ๕ ชนิดที่ชาวอเมริกันรับประทานกันมากที่สุด ได้แก่ มันฝรั่งทอด มะเขือเทศ (ส่วนใหญ่ในรูปของซ๊อสหรือซ๊อสมะเขือเทศ) หัวหอม ผักกาดแก้ว และหัวมันชนิดอื่น ๆ
แต่ถ้าชาวอเมริกันส่วนใหญ่ลดปริมาณเนื้อ อาหารทะเล และเป็ดไก่ บนจานอาหารค่ำลง พวกเขาหรือร้านอาหารร้านโปรดจำนวนมาก จะไม่ทราบว่า จะทดแทนเนื้อด้วยอะไรดี เราจะต้องไปร้านอาหารต่างวัฒนธรรมกันไป เพื่อจะได้รับประทานอาหารที่น่าสนใจที่ทำจากพืช มันไม่ใช่เหตุบังเอิญ ที่ร้านอาหารแบบนั้นทราบวิธีทำอาหารประเภทผักให้อร่อยได้ คุณวิลเล็ทกล่าวว่า "โชคดี ที่รอบ ๆ โลกมีแหล่งประสบการณ์อันรุ่มรวย เพราะอาหารดั้งเดิมเกือบทุกแห่ง เป็นอาหารที่ทำจากพืช"


ทั้งนี้ทั้งนั้น ร้านอาหารอิตาลี่ เม็กซีโก และของชาติอื่น ๆ ถูกดัดแปลงให้กลมกลืนกับรูปแบบอเมริกา จนผักส่วนใหญ่ถูกทดแทนด้วยเนื้อและเนยแข็งไปเสียแล้ว เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ในการทำอาหารแบบเอเชียและแบบเมดิเตอร์เรเนียนนั้น การปรุงผักและผลไม้ ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ชาวอิตาลี่จะไม่นำเนื้อและเนยแข็งจำนวนมหึมามาใส่บนพิซซ่า เป็นต้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผมได้รับประทานพิซซ่าแบบบางจานหนึ่ง ซึ่งไม่ใส่เนยแข็ง มีแต่ผักสะระแหน่สด มะเขือเทศ และกระเทียม ซึ่งอร่อยมหัศจรรย์จริง ๆ


ลิขสิทธิ์ ปี ๒๕๓๙ ซีเอสพีไอ
พิมพ์ซ้ำ/ดัดแปลงมาจาก
จดหมายสุขภาพปฏิบัติการอาการ (นิวทริชั่น แอคชั่น เฮ๊ลท์ เล็ทเท่อร์)